”กู้” น้ำนมแม่คืนมาเพื่อลูกน้อย
การกู้น้ำนม หรือการเรียกน้ำนมแม่กลับคืน (relactation) นับว่าเป็นการเปิดโอกาสให้กับคุณแม่หลายคนที่เคยให้นมแม่มาก่อนแล้วหยุดให้นมไปช่วงหนึ่ง
ได้สามารถกลับมามีน้ำนมให้ลูกอีกครั้ง เพื่อประโยชน์ที่ลูกน้อยจะได้รับ
โดยอาศัยการกระตุ้นเต้านมเพื่อเพิ่มการผลิตฮอร์โมนโปรแลคติน ซึ่งเป็นฮอร์โมนสำคัญในการกระตุ้นการสร้างน้ำนม
แม้น้ำนมที่เรียกกลับคืนมานี้จะไม่มีส่วนที่เรียกว่าน้ำนมเหลืองแล้ว
แต่องค์ประกอบของโปรตีนและ lgA ยังมีอยู่ครบ
• เตรียมตัวก่อนเรียกน้ำนมคืน
คุณแม่ต้องดูแลโภชนาการให้ได้รับอาหารอย่างเพียงพอและครบถ้วน เพื่อเตรียมร่างกายให้พร้อม
ดื่มน้ำให้มาก พักผ่อนให้เพียงพอ และมีเวลาใกล้ชิดลูก ซึ่งพบว่า
แม่ที่ทำงานนอกบ้านจะมีความเสี่ยงต่อการมีน้ำนมไม่เพียงพอต่อความต้องการของลูก
หากแม่ไม่มีเวลาอาจต้องใช้ความพยายามมากกว่าปกติที่จะพยายามเรียกน้ำนมแม่กลับคืน
ทั้งนี้ระยะเวลาในการเรียกน้ำนม เริ่มต้นที่ 2-3
วันไปจนถึง 2-3 สัปดาห์ก็มี
ขึ้นอยู่กับความพร้อมของร่างกายแม่ด้วย
• วิธีการเรียกน้ำนมคืน
1. ให้ลูกดูดนมจากเต้าบ่อยๆ
อย่างน้อยวันละ 8-10 ครั้ง หรือให้ลูกดูดนมทุก 2
ชั่วโมง หรือทุกครั้งที่ลูกต้องการ ถ้าลูกไม่ดูดให้อุ้มลูกแนบอกบ่อยๆ
จะช่วยเพิ่มโอกาสให้ลูกหันหาเต้านมแม่มากขึ้น
2. บีบน้ำนมและใช้เครื่องปั้มนม
เพื่อกระตุ้นเต้านมอย่างต่อเนื่องประมาณ 8-12
ครั้งต่อวัน
3. สามารถใช้ยาแลคโตกัส
(Lactogogues) ช่วยร่วมกับการกระตุ้นเต้านมได้ในการเพิ่มปริมาณน้ำนม
หรือในกรณีที่กระตุ้นด้วย 2 วิธีแรกผ่านไป 2
สัปดาห์แล้ว แต่น้ำนมยังไม่มา
การเรียกน้ำนมเป็นอีกความหวังและอีกทางเลือกหนึ่ง
สำหรับคุณแม่ให้ได้มีโอกาสมอบอาหารที่พิเศษสุดแก่ลูกน้อยอีกครั้ง
(ที่มา:
หนังสือการเรียกน้ำนมแม่กลับคืน โดย พญ.สุธีรา เอื้อไพโรจน์ กุมารแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านทารกแรกเกิด
และ ภก.มนตรี วังพฤกษ์ วิทยากรส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่)
#ขอขอบคุณ www.enfababy.com , www.facebook.com/enfasmartclub
.............................................................
. . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . .
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น