เดือนที่ 26
หนูน้อยยังคงเป็นจอมสำรวจตัวน้อยที่พร้อมจะเรียนรู้ทุกสิ่งทุกอย่างรอบตัว ทั้งจากการเลียนแบบ (สังเกต จดจำ และทำตาม) และการเชื่อมโยงประสบการณ์เดิมๆ ที่เคยเกิดขึ้น ที่สำคัญลูกเรียนรู้จากการเล่นมากขึ้นด้วย...มาดูพัฒนาการ 360° อัจฉริยะรอบด้านของลูกน้อยเดือนนี้กันค่ะ
ฉลาดเรียนรู้
ลูกเริ่มเข้าใจความแตกต่างระหว่างสิ่งเดียวกับหลายสิ่งแล้ว ซึ่งคุณแม่สามารถสอนให้ลูกรับรู้เรื่องจำนวน 1 และ 2 ได้แล้ว โดยอาจหาโปสเตอร์หรือหนังสือที่สอนเรื่องจำนวนมาเปิดให้ลูกดูภาพ เพื่อเชื่อมโยงตัวเลขกับจำนวน
เริ่มเข้าใจเรื่องเวลาและตอบสนองต่อคำว่า “เดี๋ยวเดียว” “รอแป๊บหนึ่งนะลูก” ได้แล้ว
ลูกสามารถช่วยเหลือตัวเองได้มากขึ้น เช่น ใส่ถุงเท้าเอง สวมเสื้อเอง เป็นต้น คุณแม่ควรเปิดโอกาสให้ลูกได้ทำ และฝึกฝนด้วยตัวเอง เพื่อเตรียมความพร้อมให้เมื่อลูกถึงวัยเข้าเนิร์สเซอรี่หรือโรงเรียนอนุบาลในอีกไม่กี่เดือนข้างหน้า
ลูกจดจำเรื่องราวต่างๆ ได้นานขึ้น
ฉลาดเคลื่อนไหว
ลูกสามารถทรงตัวด้วยขาข้างเดียวได้แป๊บหนึ่ง เดินขึ้นบันไดได้แต่ยังสลับเท้าไม่ได้ กระโดดสองขาพร้อมกันได้ดีขึ้น
ชอบเล่นโยนรับลูกบอลหรือเตะบอล
ลูกเรียนรู้ที่จะใช้มือหมุนลูกปิดเพื่อเปิดและปิดประตูได้เอง
เคลื่อนไหวนิ้วมือได้อิสระมากขึ้นและชอบขีดเขียนกระดาษ สามารถเขียนเส้นโค้งได้หากคุณแม่เขียนให้ดู กระดาษและดินสอสีเป็นของเล่นสามัญประจำวัย ที่จะช่วยพัฒนากล้ามเนื้อมัดเล็ก เพื่อเตรียมความพร้อมให้ลูกสำหรับการหัดเขียนเมื่อเขาถึงวัยที่ต้องเข้าโรงเรียน
ฉลาดสื่อสาร
หากที่ผ่านมาคุณแม่สอนให้ลูกรู้จักใช้คำสรรพนามเรียกแทนตัวเองว่า ฉัน เรียกคนอื่นว่า เธอ ลูกก็จะจดจำและนำมาพูดตามได้
บอกความต้องการของตัวเองได้มากขึ้น เช่น หิวข้าว หิวน้ำ ร้อน หรือชวนเล่น
อย่างที่บอกว่าลูกสามารถเรียนรู้คำศัพท์ใหม่ๆ ได้เฉลี่ยวันละ 2 คำ คุณแม่จึงไม่ควรปล่อยให้โอกาสนี้ผ่านเลยไปอย่างน่าเสียดาย
วิธีการส่งเสริมพัฒนาการด้านภาษาให้ลูกวัยนี้ เช่น การสอนให้ลูกพูดคำสั้นๆ ที่มีความหมายจากสิ่งรอบๆ ตัว ชี้ให้ลูกดูส่วนต่างๆ ของใบหน้าและร่างกาย ร้องเพลงและทำท่าประกอบให้ลูกทำตาม และสอนให้ลูกรู้จักทักทาย ใช้คำ ขอบคุณ เมื่อมีคนให้ของ และขอโทษเมื่อทำผิด
นอกจากนี้ การเล่านิทานประกอบภาพหรือท่าทาง ไม่เพียงช่วยให้ลูกสนุก ได้เรียนรู้ภาษาแต่ยังเสริมสร้างสติปัญญาและการเรียนรู้อีกด้วย
ฉลาดด้านอารมณ์
มีความเป็นตัวเองและยึดตัวเองเป็นศูนย์กลางของทุกสิ่ง อยากได้อะไรก็ต้องได้
ลูกวัยนี้จะรักและติดแม่มาก และมักจะกลัวความมืด หรือเสียงดังๆ ซึ่งความกลัวนี้สะท้อนให้เห็นถึงความสามารถในการจินตนาการของลูกได้ดีทีเดียว
ลูกยังชอบที่จะทดสอบความสามารถของตัวเองด้วยการ ปฏิเสธตลอดเวลาเหมือนเช่นที่ผ่านมา คุณแม่อย่าเพิ่งเบื่อหน่ายไปก่อนนะคะ พยายามมองโลกในแง่บวกเข้าไว้ว่าลูกกำลังบ่มเพาะตัวตนของเขาอยู่ ถ้าการพูด “ไม่” ของลูกไม่ใช่เรื่องหนักหนาเกินไปปล่อยผ่านบ้างก็ได้ค่ะ
ลูกยังไม่พร้อมจะเล่นกับเด็กอื่นเท่าไรแต่พอใจที่จะเล่นอยู่ใกล้ๆ มากกว่า และยังไม่ยอมแบ่งของเล่น ซึ่งเรื่องนี้คุณแม่ต้องค่อยๆ ปลูกฝังเรื่องการแบ่งปันทีละนิดๆ
ลูกรู้จักช่วยเหลือตัวเองมากขึ้นตามลำดับจากเดือนก่อนๆ เช่น สามารถล้างมือและเช็ดมือเองโดยไม่ต้องมีคนช่วย
พร้อมจะเรียนรู้วิธีแปรงฟันและบ้วนปากด้วยตัวเองแล้ว ซึ่งวิธีจูงใจให้ลูกหัดแปรงฟันเองก็เช่นให้ลูกเลือกแปรงสีฟัน หรือรสชาติยาสีฟันด้วยตัวเอง คุณแม่ค่อยๆ จับมือลูกแปรงฟันทีละด้าน จากนั้นให้ลูกลองทำเอง ซึ่งลูกจะแปรงได้ไม่เรียบร้อยนัก คุณแม่จึงต้องแปรงซ้ำให้อีกทีหนึ่งด้วย
นอกจากวุฒิภาวะ หรือความพร้อมของร่างกายและสติปัญญาตามวัยของลูกแล้ว การเลี้ยงดูอย่างเข้าใจในพัฒนาการแต่ละย่างก้าวของลูกอย่างเข้าใจ และส่งเสริมอย่างเหมาะสม ยังเป็นตัวแปรสำคัญ ที่จะช่วยให้ลูกของเรามีพัฒนาการ 360° อัจฉริยะรอบด้าน ค่ะ
หนูน้อยยังคงเป็นจอมสำรวจตัวน้อยที่พร้อมจะเรียนรู้ทุกสิ่งทุกอย่างรอบตัว ทั้งจากการเลียนแบบ (สังเกต จดจำ และทำตาม) และการเชื่อมโยงประสบการณ์เดิมๆ ที่เคยเกิดขึ้น ที่สำคัญลูกเรียนรู้จากการเล่นมากขึ้นด้วย...มาดูพัฒนาการ 360° อัจฉริยะรอบด้านของลูกน้อยเดือนนี้กันค่ะ
ฉลาดเรียนรู้
ลูกเริ่มเข้าใจความแตกต่างระหว่างสิ่งเดียวกับหลายสิ่งแล้ว ซึ่งคุณแม่สามารถสอนให้ลูกรับรู้เรื่องจำนวน 1 และ 2 ได้แล้ว โดยอาจหาโปสเตอร์หรือหนังสือที่สอนเรื่องจำนวนมาเปิดให้ลูกดูภาพ เพื่อเชื่อมโยงตัวเลขกับจำนวน
เริ่มเข้าใจเรื่องเวลาและตอบสนองต่อคำว่า “เดี๋ยวเดียว” “รอแป๊บหนึ่งนะลูก” ได้แล้ว
ลูกสามารถช่วยเหลือตัวเองได้มากขึ้น เช่น ใส่ถุงเท้าเอง สวมเสื้อเอง เป็นต้น คุณแม่ควรเปิดโอกาสให้ลูกได้ทำ และฝึกฝนด้วยตัวเอง เพื่อเตรียมความพร้อมให้เมื่อลูกถึงวัยเข้าเนิร์สเซอรี่หรือโรงเรียนอนุบาลในอีกไม่กี่เดือนข้างหน้า
ลูกจดจำเรื่องราวต่างๆ ได้นานขึ้น
ฉลาดเคลื่อนไหว
ลูกสามารถทรงตัวด้วยขาข้างเดียวได้แป๊บหนึ่ง เดินขึ้นบันไดได้แต่ยังสลับเท้าไม่ได้ กระโดดสองขาพร้อมกันได้ดีขึ้น
ชอบเล่นโยนรับลูกบอลหรือเตะบอล
ลูกเรียนรู้ที่จะใช้มือหมุนลูกปิดเพื่อเปิดและปิดประตูได้เอง
เคลื่อนไหวนิ้วมือได้อิสระมากขึ้นและชอบขีดเขียนกระดาษ สามารถเขียนเส้นโค้งได้หากคุณแม่เขียนให้ดู กระดาษและดินสอสีเป็นของเล่นสามัญประจำวัย ที่จะช่วยพัฒนากล้ามเนื้อมัดเล็ก เพื่อเตรียมความพร้อมให้ลูกสำหรับการหัดเขียนเมื่อเขาถึงวัยที่ต้องเข้าโรงเรียน
ฉลาดสื่อสาร
หากที่ผ่านมาคุณแม่สอนให้ลูกรู้จักใช้คำสรรพนามเรียกแทนตัวเองว่า ฉัน เรียกคนอื่นว่า เธอ ลูกก็จะจดจำและนำมาพูดตามได้
บอกความต้องการของตัวเองได้มากขึ้น เช่น หิวข้าว หิวน้ำ ร้อน หรือชวนเล่น
อย่างที่บอกว่าลูกสามารถเรียนรู้คำศัพท์ใหม่ๆ ได้เฉลี่ยวันละ 2 คำ คุณแม่จึงไม่ควรปล่อยให้โอกาสนี้ผ่านเลยไปอย่างน่าเสียดาย
วิธีการส่งเสริมพัฒนาการด้านภาษาให้ลูกวัยนี้ เช่น การสอนให้ลูกพูดคำสั้นๆ ที่มีความหมายจากสิ่งรอบๆ ตัว ชี้ให้ลูกดูส่วนต่างๆ ของใบหน้าและร่างกาย ร้องเพลงและทำท่าประกอบให้ลูกทำตาม และสอนให้ลูกรู้จักทักทาย ใช้คำ ขอบคุณ เมื่อมีคนให้ของ และขอโทษเมื่อทำผิด
นอกจากนี้ การเล่านิทานประกอบภาพหรือท่าทาง ไม่เพียงช่วยให้ลูกสนุก ได้เรียนรู้ภาษาแต่ยังเสริมสร้างสติปัญญาและการเรียนรู้อีกด้วย
ฉลาดด้านอารมณ์
มีความเป็นตัวเองและยึดตัวเองเป็นศูนย์กลางของทุกสิ่ง อยากได้อะไรก็ต้องได้
ลูกวัยนี้จะรักและติดแม่มาก และมักจะกลัวความมืด หรือเสียงดังๆ ซึ่งความกลัวนี้สะท้อนให้เห็นถึงความสามารถในการจินตนาการของลูกได้ดีทีเดียว
ลูกยังชอบที่จะทดสอบความสามารถของตัวเองด้วยการ ปฏิเสธตลอดเวลาเหมือนเช่นที่ผ่านมา คุณแม่อย่าเพิ่งเบื่อหน่ายไปก่อนนะคะ พยายามมองโลกในแง่บวกเข้าไว้ว่าลูกกำลังบ่มเพาะตัวตนของเขาอยู่ ถ้าการพูด “ไม่” ของลูกไม่ใช่เรื่องหนักหนาเกินไปปล่อยผ่านบ้างก็ได้ค่ะ
ลูกยังไม่พร้อมจะเล่นกับเด็กอื่นเท่าไรแต่พอใจที่จะเล่นอยู่ใกล้ๆ มากกว่า และยังไม่ยอมแบ่งของเล่น ซึ่งเรื่องนี้คุณแม่ต้องค่อยๆ ปลูกฝังเรื่องการแบ่งปันทีละนิดๆ
ลูกรู้จักช่วยเหลือตัวเองมากขึ้นตามลำดับจากเดือนก่อนๆ เช่น สามารถล้างมือและเช็ดมือเองโดยไม่ต้องมีคนช่วย
พร้อมจะเรียนรู้วิธีแปรงฟันและบ้วนปากด้วยตัวเองแล้ว ซึ่งวิธีจูงใจให้ลูกหัดแปรงฟันเองก็เช่นให้ลูกเลือกแปรงสีฟัน หรือรสชาติยาสีฟันด้วยตัวเอง คุณแม่ค่อยๆ จับมือลูกแปรงฟันทีละด้าน จากนั้นให้ลูกลองทำเอง ซึ่งลูกจะแปรงได้ไม่เรียบร้อยนัก คุณแม่จึงต้องแปรงซ้ำให้อีกทีหนึ่งด้วย
นอกจากวุฒิภาวะ หรือความพร้อมของร่างกายและสติปัญญาตามวัยของลูกแล้ว การเลี้ยงดูอย่างเข้าใจในพัฒนาการแต่ละย่างก้าวของลูกอย่างเข้าใจ และส่งเสริมอย่างเหมาะสม ยังเป็นตัวแปรสำคัญ ที่จะช่วยให้ลูกของเรามีพัฒนาการ 360° อัจฉริยะรอบด้าน ค่ะ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น