การตั้งครรภ์เลยกำหนด
อายุครรภ์ที่ครบกำหนดคลอดที่ทารกมีความสมบูรณ์เต็มที่ คืออายุครรภ์ระหว่าง 37 สัปดาห์ถึง 41 สัปดาห์ และอีกไม่เกิน 6 วัน เมื่อคำนวณจากวันแรกของประจำเดือนครั้งสุดท้ายที่มาอย่างปกติ หากตั้งครรภ์ตั้งแต่ 42 สัปดาห์ขึ้นไป จัดว่าเป็นการตั้งครรภ์เกินกำหนด
หากประจำเดือนคุณแม่มาไม่สม่ำเสมอ คุณหมอจะทำการตรวจครรภ์ด้วยอัลตราซาวนด์เมื่อไปฝากครรภ์ครั้งแรกๆ เพื่อจะดูอายุครรภ์ที่แน่นอน เมื่อคุณหมอกำหนดวันคลอดแล้วจากการตรวจอัลตราซาวนด์ จะไม่มีการเปลี่ยนวันกำหนดคลอดตามขนาดทารกอีก ซึ่งหากตรวจพบว่าทารกตัวเล็ก ก็ต้องหาสาเหตุต่อไปว่าเกิดจากอะไร ใช่จากการนับอายุครรภ์ไม่ถูกต้องหรือไม่
การตั้งครรภ์เกินกำหนดพบได้ประมาณ 10% ของการตั้งครรภ์ทั้งหมด ส่วนใหญ่จะคลอดก่อนวันนัด 1-2 สัปดาห์ และมีคุณแม่ตั้งครรภ์ประมาณ 5 % ที่คลอดตรงกับวันที่คุณหมอนัดพอดีการตั้งครรภ์เกินกำหนดนั้นมีผลข้างเคียงต่อตัวคุณแม่คือทารกจะตัวโตขึ้น ช่องคลอดฉีกขาดมากขึ้นจากขนาดที่ใหญ่ขึ้นของทารกทำให้คลอดยาก อาจจะต้องใช้การผ่าตัดในการคลอด
ส่วนผลกระทบต่อตัวทารกนั้น เกิดในกรณีที่รกเสื่อม (เพราะอายุครรภ์เกินกำหนด) ทารกในครรภ์จะขาดแคลนออกซิเจน ขาดอาหาร และมีความเสี่ยงต่อการเสียชีวิตของทารกในครรภ์ ยิ่งตั้งครรภ์เกินกำหนดมากขึ้นเท่าใด โอกาสจะเสียชีวิตของทารกจะมีมากยิ่งขึ้น
สาเหตุที่ทำให้การตั้งครรภ์เกินกำหนด ยังไม่เป็นที่ทราบแน่ชัด มีบางสมมติฐานว่าเกิดจากการไม่สมดุลของฮอร์โมนที่พบในทารกในครรภ์ที่พิการบางอย่าง เช่น ทารกที่ไม่มีกะโหลกศีรษะ แต่สาเหตุที่พบบ่อยที่สุดของการตั้งครรภ์เกินกำหนด คือ การที่แม่ตั้งครรภ์จำประวัติประจำเดือนไม่แม่น ทำให้คำนวณอายุครรภ์ผิดไป
เมื่อถึงกำหนดอายุครรภ์ครบ 40 สัปดาห์ที่สามารถคลอดได้แล้ว แต่คุณแม่ยังไม่มีอาการเจ็บครรภ์ ไม่มีการหดรัดตัวของมดลูก คุณแม่ควรต้องไปพบคุณหมอ เพื่อทำการตรวจภายใน เพื่อประเมินสภาพปากมดลูกว่าพร้อมที่จะคลอดหรือยัง ปัจจุบันคุณหมอมักจะทำการเร่งคลอดหากอายุครรภ์ 41 สัปดาห์แล้ว มักไม่ได้รอจนถึง 42 สัปดาห์ เพราะการรอต่อไปมีผลเสียมากกว่าผลดี เพราะเสี่ยงที่รกจะฝ่อแล้ว ลูกจะขาดน้ำขาดอาหาร จะมีการใช้ยากระตุ้นให้คลอด หรือถ้าปากมดลูกยังปิดแน่น ศีรษะเด็กยังไม่เคลื่อนลงต่ำมีโอกาสสูงที่คุณหมอจะเลือกวิธีผ่าตัดคลอดค่ะ
อายุครรภ์ที่ครบกำหนดคลอดที่ทารกมีความสมบูรณ์เต็มที่ คืออายุครรภ์ระหว่าง 37 สัปดาห์ถึง 41 สัปดาห์ และอีกไม่เกิน 6 วัน เมื่อคำนวณจากวันแรกของประจำเดือนครั้งสุดท้ายที่มาอย่างปกติ หากตั้งครรภ์ตั้งแต่ 42 สัปดาห์ขึ้นไป จัดว่าเป็นการตั้งครรภ์เกินกำหนด
หากประจำเดือนคุณแม่มาไม่สม่ำเสมอ คุณหมอจะทำการตรวจครรภ์ด้วยอัลตราซาวนด์เมื่อไปฝากครรภ์ครั้งแรกๆ เพื่อจะดูอายุครรภ์ที่แน่นอน เมื่อคุณหมอกำหนดวันคลอดแล้วจากการตรวจอัลตราซาวนด์ จะไม่มีการเปลี่ยนวันกำหนดคลอดตามขนาดทารกอีก ซึ่งหากตรวจพบว่าทารกตัวเล็ก ก็ต้องหาสาเหตุต่อไปว่าเกิดจากอะไร ใช่จากการนับอายุครรภ์ไม่ถูกต้องหรือไม่
การตั้งครรภ์เกินกำหนดพบได้ประมาณ 10% ของการตั้งครรภ์ทั้งหมด ส่วนใหญ่จะคลอดก่อนวันนัด 1-2 สัปดาห์ และมีคุณแม่ตั้งครรภ์ประมาณ 5 % ที่คลอดตรงกับวันที่คุณหมอนัดพอดีการตั้งครรภ์เกินกำหนดนั้นมีผลข้างเคียงต่อตัวคุณแม่คือทารกจะตัวโตขึ้น ช่องคลอดฉีกขาดมากขึ้นจากขนาดที่ใหญ่ขึ้นของทารกทำให้คลอดยาก อาจจะต้องใช้การผ่าตัดในการคลอด
ส่วนผลกระทบต่อตัวทารกนั้น เกิดในกรณีที่รกเสื่อม (เพราะอายุครรภ์เกินกำหนด) ทารกในครรภ์จะขาดแคลนออกซิเจน ขาดอาหาร และมีความเสี่ยงต่อการเสียชีวิตของทารกในครรภ์ ยิ่งตั้งครรภ์เกินกำหนดมากขึ้นเท่าใด โอกาสจะเสียชีวิตของทารกจะมีมากยิ่งขึ้น
สาเหตุที่ทำให้การตั้งครรภ์เกินกำหนด ยังไม่เป็นที่ทราบแน่ชัด มีบางสมมติฐานว่าเกิดจากการไม่สมดุลของฮอร์โมนที่พบในทารกในครรภ์ที่พิการบางอย่าง เช่น ทารกที่ไม่มีกะโหลกศีรษะ แต่สาเหตุที่พบบ่อยที่สุดของการตั้งครรภ์เกินกำหนด คือ การที่แม่ตั้งครรภ์จำประวัติประจำเดือนไม่แม่น ทำให้คำนวณอายุครรภ์ผิดไป
เมื่อถึงกำหนดอายุครรภ์ครบ 40 สัปดาห์ที่สามารถคลอดได้แล้ว แต่คุณแม่ยังไม่มีอาการเจ็บครรภ์ ไม่มีการหดรัดตัวของมดลูก คุณแม่ควรต้องไปพบคุณหมอ เพื่อทำการตรวจภายใน เพื่อประเมินสภาพปากมดลูกว่าพร้อมที่จะคลอดหรือยัง ปัจจุบันคุณหมอมักจะทำการเร่งคลอดหากอายุครรภ์ 41 สัปดาห์แล้ว มักไม่ได้รอจนถึง 42 สัปดาห์ เพราะการรอต่อไปมีผลเสียมากกว่าผลดี เพราะเสี่ยงที่รกจะฝ่อแล้ว ลูกจะขาดน้ำขาดอาหาร จะมีการใช้ยากระตุ้นให้คลอด หรือถ้าปากมดลูกยังปิดแน่น ศีรษะเด็กยังไม่เคลื่อนลงต่ำมีโอกาสสูงที่คุณหมอจะเลือกวิธีผ่าตัดคลอดค่ะ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น